ເປີດປະຫວັດ ນາຍົກຄົນໃໝ່ ປະເທດໄທ

ສານລັດຖະທຳມະນູນໄທ ມີມະຕິ5:4ໃຫ້ທ່ານປະຢຸດ ຈັນໂອຊາ ຢຸດຕິປະຕິບັດໜ້າທີ່ນາຍົກ ນັບແຕ່ມື້ນີ(24 ສິງຫາ 2022); ຂະນະທີ່ຄຳສັ່ງສຳນັກງານນາຍົກລັດຖະມົນຕີ

ຣາຊະອານາຈັກໄທ ເລກທີ237/2653 ລຳດັບຮັກສາການແທນ ນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ແລະ ປະຕິບັດຣາຊະການແທນ ລຳດັບທີ1 ແມ່ນ ພົນເອກ ປະວິດ ວົງສຸວັນ ເຊີ່ງຊາວໄທທຸກຄົນ ຮ່ວມສະແດງຄວາມຍີນດີກັບນາຍົກ ( ຮັກສາການຄົນໃຫມ່ )

ຕອນເຊົ້າວັນທີ 24 ສິງຫານີ້, ສານລັດຖະທຳມະນູນຂອງໄທໄດ້ຕັດສິນໃຫ້ທ່ານປະຍຸດ ຈັນໂອຊາຍຸດຕິການດຳລົງຕຳແໜ່ງນາຍົກລັດຖະມົນຕີໄທເປັນການຊົ່ວຄາວ ຈົນສານຈະດຳເນີນການຕັດສິນຄຳຮ້ອງຂອງຝ່າຍຄ້ານລັດຖະບານໄທກໍລະນີນາຍົກລັດຖະມົນຕີດຳລົງຕຳແໜ່ງຄົບ 8 ປີເຊິ່ງຂັດກັບລັດຖະທຳມະນູນສຳເລັດໃນທີ່ສຸດ.

ຍ້ອນວ່າກ່ອນໜ້ານີ້, ຄະນະລັດຖະບານໄທຕົກລົງໃຫ້ທ່ານປະວິດ ວົງສຸວັນເປັນຜູ້ທີໜຶ່ງຈະເຂົ້າຮັບຕຳແໜ່ງຜູ້ຮັກສາການແທນນາຍົກລັດຖະມົນຕີ, ສະນັ້ນ, ຫຼັງຈາກສານລັດຖະທຳມະນູນອອກຄຳຕັດສິນດັ່ງກ່າວແລ້ວ, ທ່ານປະວິດ ວົງສຸວັນຈິ່ງກາຍເປັນຜູ້ຮັກສາການແທນນາຍົກລັດຖະມົນຕີໄທ.ແຕ່ ທ່ານປະຍຸດ ຈັນໂອຊາຍັງເປັນລັດຖະມົນຕີກະຊວງປ້ອງກັນປະເທດໄທຕໍ່ໄປ.

ມາອ່ານປະຫວັດຂອງທ່ານ ພົນເອກ ປະວິດ ເຊີ່ງຈະເປັນນາຍົກຄົນໃຫມ່ຂອງໄທ .. ລາຍລະອຽດມີດັ່ງນີ້

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (ชื่อเล่น: ป้อม; เกิด: 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488) เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมระหว่างปี 2551 ถึง 2554 และ 2557 ถึง 2562

ผู้บัญชาการทหารบกระหว่างปี 2547 ถึง 2548, หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ​ อดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ชื่อว่าเป็น “พี่ใหญ่” ของกลุ่มแยกบูรพาพยัคฆ์และกลุ่ม 3ป ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรักษาการนายกรัฐมนตรีแทนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว

ชีวิตและการงาน

เขาเกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ที่กรุงเทพมหานคร (จังหวัดพระนครในขณะนั้น) เป็นบุตรคนโตของพลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีน้องชาย 4 คน คือ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ, พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมทีโอที และ พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ

เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียลในปี พ.ศ. 2505 จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2521 เข้าศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 และในปี พ.ศ. 2540 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 พ.ศ. 2556

เขาถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือที่เรียกกันว่า “ทหารเสือราชินี” ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับนายทหารอดีตผู้บัญชาการทหารบกสองนาย คือ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประจำกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552

ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า “ป้อมทะลุเป้า” สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่างๆ ที่ถูกครหา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

เขาเป็นที่ราบกันว่าเป็น “พี่ใหญ่” ของกลุ่มทหารเรียก “บูรพาพยัคฆ์” ซึ่งหมายถึงทหารที่เริ่มต้นรับราชการจากกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (“ทหารเสือราชินี”) กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี 2551 ถึง 2554 กล่าวว่าตลอดอาชีพของประวิทย์ เขาให้คำปรึกษาแก่พลเอกประยุทธ์และช่วยให้เขาไต่เต้าลำดับชั้นยศ เขามักถือเป็นผู้สนับสนุนการประท้วงต่อต้านรัฐบาลระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 บ้างว่าเขาอาจเป็นผู้นำคณะรัฐประหาร หรือเป็นผู้มีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีกรณีที่ กปปส. ล้มรัฐบาลสำเร็จ

หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เขายังเป็นประธานคณะกรรมการอีกกว่า 50 คณะ

รับราชการทหาร

  • พ.ศ. 2512 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 3
  • พ.ศ. 2514 ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2517 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2519 นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2520 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2522 นายทหารฝ่ายยุทธการ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2523 รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2524 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2527 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2529 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2532 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2536 รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2540 รองแม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2541 แม่ทัพน้อยที่ 1
  • พ.ศ. 2543 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
  • พ.ศ. 2544 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
  • พ.ศ. 2545 แม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2546 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารบก
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2553 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย
  • ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่งเป็นคณะดำเนินคดี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีประเทศกัมพูชาฟ้องร้องประเทศไทย
  • ในปี พ.ศ. 2558 เขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ

ຊົມຄຣິບ

ທີ່ມາ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button